วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบทที่ 6



อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
 
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
                                เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960   ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา  หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง  ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัยและเชื่อมโยงเครือข่าย
ในปี ค.ศ.  1983  ได้มีการนำ  TCP/IP Protocol หรือ Transmission Control Protocol  มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเป็นครั้งแรก  จนกรทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานในการติดต่อในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี  ค.ศ.  1986  มีการกำหนดชื่อโดเมน  (Domain name System)  เพื่อสร้างฐานข้อมูลในแต่ละเครือข่าย  และใช้  ISP  (Internet Service Provider)  ในการจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม
 
อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า  แคมปัสเน็ตเวิร์ก  (Campus Network)  ในปี พ.ศ.  2530  โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  หรือ AIT ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ.  2531  ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่  ได้ยื่นขอที่อยู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย  ซึ่งก็ได้รับที่อยู่  Sritrang.psu.th  ซึ่งเป็นที่อยู่อินเตอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นก็ได้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด  24  ชั่วโมง  เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  ในเดือนกรกฎาคม  พ.ศ.  2535  โดยสถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร  สื่อสารความเร็ว  9,600  บิตต่อวินาที  จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
                        เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้หลายด้าน ขึ้นกับลักษณะการใช้งานของเรา ซึ่งเราสามารถสรุปแนวทางได้ดังนี้
สื่อสารกับผู้อื่น เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตสื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ตาม เช่นการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat) เป็นต้น
แหล่งความรู้  อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนแหล่งความรู้ ที่มีข้อมูลมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นเพียงข้อความเท่านั้น แต่มีทั้งเสียง ภาพ ภาพยนตร์ แหล่งข่าวสาร และความบันเทิง เราสามารถติดตามข่าวล่าสุด ดูหนังฟังเพลง และภาพยนตร์ล่าสุด ไม่ว่าจากในประเทศ หรือต่างประเทศ
3.       ศูนย์รวมสารพัดโปรแกรมใช้งาน และ เกม ในอินเตอร์เน็ตมีโปรแกรมใช้งาน และเกมมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (freeware) ที่เรานำมาใช้ได้ฟรี หรือโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ (shareware) ที่ให้เราทดลองใช้ก่อน และซื้อมาใช้จริงหลังหมดเวลาทดลอง
บริการที่มีในอินเตอร์เน็ต
                        บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล  ข่าวสาร  บทความ  รายงาน  ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆ รูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตมีดังนี้
                        1.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Mail : E-Mail)  เป็นการรับ-ส่งจดหมายถึงกัน  ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานให้เองโดยอัตโนมัติ  ทำให้เกิดความสะดวก  รวดเร็ว  สามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก  ลักษณะการส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมายทั่วไป  โดยผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Mail address)  เช่น                                     mjeeb@oho.ipst.ac.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน , webmaster@thaigoodview.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน   ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ผู้ใช้สามารถส่งแฟ้มข้อมูลแนบไปกับจดหมายได้ด้วย
                        2.  การถ่ายโอนข้อมูล  (File Transfer Protocol : FTP)  เป็นบริการถ่ายโอนข้อมูล  ข่าวสาร  บทความรวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่ง  ในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นลงมาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า  ดาวน์โหลด  (download)  ส่วนการนำข้อมูลจากเครื่องของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  เรียกว่า  อัพโหลด  (upload)
                        3.  การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น  (telnet)  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในที่ห่างไกล  โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
                        4.  โกเฟอร์  (gopher)  บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูล  เป็นบริการที่คล้ายกับ  FTP  แต่การจัดเก็บสาระบนรายการแฟ้มข้อมูล  และไอคอนของโกเฟอร์จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดที่ดีกว่า  ซึ่งคล้ายกับการจัดตู้บัตรรายการในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล  โดยการระบุชื่อผู้แต่ง  ชื่อเรื่อง  ชื่อที่เกี่ยวข้อง
                        5.   ข่าวสาร  (Usenet)  เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง  โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร  มีการจัดกลุ่มและแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
                        6.  เวิลด์ไวด์เว็บ  (World Wide Web : WWW)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก  ลักษณะของข้อมูลที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา  HTML  (Hypertext Markup Language)  ซึ่งประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  บริการนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคน  เราจึงมักได้ยินคำว่า  โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆ ได้อีก
                        7.  การสนทนา  (Chat)  การสนทนา  แลกเปลี่ยนข้อมูล  ความคิดเห็น  ซึ่งสนทนาผ่านการพิมพ์ข้อความ  รับ-ส่ง  แฟ้มข้อมูล  สนทนาด้วยเสียง  และติดตั้งกล้องเพื่อให้เห็นภาพคู่สนทนาด้วย

ประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการศึกษา

• ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของนักเรียนและสถานบันการศึกษาทั่วประเทศ
• กระจายความเจริญและทรัพยากรทางด้านการศึกษาไปทุกพื้นที่ หรือจังหวัดที่ห่างไกล
• เปิดโลกยุคโลกาภิวัฒน์ทางด้านการศึกษาของเยาวชนไทยให้กว้างขึ้น
• แหล่งข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมาจากแหล่งข้อมูลจริงและทันต่อเหตุการณ์
• สร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ที่ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ด้านธุรกิจ
• สร้างภาพพจน์ของความเป็นผู้นำให้แก่กลุ่มธุรกิจ หรือบริษัทฯ ในเครือ
• ได้รับความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารขององค์กร ที่จะรับ-ส่ง ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว , E-mail
• ข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายและกว้างขวาง ทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มการให้บริการที่ดีรวดเร็ว แก่ลูกค้าขององค์กรในปัจจุบัน
• เพิ่มช่องทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ของผู้ใช้บริการแก่สาธารณชน รวมทั้งการนำเสนอเพื่อกระจายข้อมูลไปยังทั่วโลกได้
• เพิ่มช่องทางการตลาดของสินค้าที่กว้างมากยิ่งขึ้น
• สามารถประกอบธุรกิจแบบเรียลไทม์ เช่น การตัดหักชำระค่าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตจากบัตรเครดิตต่างๆ ได้
• ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้ โทรสาร หรือ โทรศัพท์
• ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
• ประหยัดทรัพยากรที่มีคุณค่า
• สนับสนุนให้ประชากรมีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น
• เพิ่มทางเลือกในการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

รูปแบบเครือข่ายการให้บริการ

ภาพแสดงเครือข่ายการให้บริการ Two ways Broadband Internet

บริการของ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล รูปแบบการใช้งานของบริการ iPSTAR 1. ให้บริการบรอดแบรนด์อินเตอร์เนต (Broadband Internet) ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยความเร็วที่ 256/128 Kbps แบบไม่จำกัดเวลาการใช้งาน (Unlimited) 2. ออกแบบเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียมได้ (VDO Conference ) 3. สามารถให้บริการทางด้านโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม โดยใช้เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocal (VOIP) วัตถุประสงค์
• สนับสนุนภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการให้บริการอินเตอร์เนตสาธารณะกับประชาชน
• รับ-ส่งข้อมูล , ข่าวสารได้รวดเร็ว , แม่นยำและมีประสิทธิภาพ
• เชื่อมโยงโครงข่ายการสื่อสารข้อมูลได้ทั่วประเทศ / ทั่วโลก
• แบ่งปันทรัพยากร ( Bandwidth ) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จุดเด่นของบริการ iPSTAR สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล
• ให้บริการอินเตอร์เนตกับประชาชนตามนโยบายรัฐบาล
• รับส่งข้อมูลกับส่วนงานกลางและหน่วยอื่นๆได้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานย่อยต่างๆ ได้ในทุกพื้นที่ของกระทรวง ลักษณะการทำงาน เป็นการให้บริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อ แบบ เดียวกัน กับการเชื่อมต่อผ่านสื่อ แบบคู่สายเช่า (Leased Line) แต่เปลี่ยน มา ใช้สื่อเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ และช่องสัญญาณดาวเทียมแทน และใช้ บริการ ที่คุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็น อีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับ กลุ่ม ลูกค้าที่ต้องการ ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล หรือบริการ แบบคู่สายเช่าไปไม่ถึง สามารถขอใช้บริการ ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย
• บริการอินเตอร์เนตสำหรับองค์การบริหารส่วนตำบล

การนำ iPSTAR มาประยุกต์ใช้ 1. การประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม : iPSTAR for Video Conferencing (VDC) การประชุมทางไกลด้วยภาพผ่านดาวเทียม (Video Conference : VDC ) จัดเป็นการประยุกต์ใช้งานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการให้บริการบรอดแบรนด์ ระบบ iPSTAR ทั้งยังสนับสนุนมาตรฐาน H.323 สำหรับ VDC อีกทั้งการควบคุม และจัดสรรช่องสัญญาณรวมตลอดจนความยืดหยุ่นและรวดเร็วในการปรับความเร็ว ตามความต้องการใช้งานของ ระบบ iPSTAR ทำให้การใช้งาน VDC จากเดิมที่เคยมีความยุ่งยากในการติดตั้งอุปกรณ์ และมีค่าบริการที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งความเร็วในการส่งข้อมูลถูกจำกัด เปลี่ยนมาเป็นความสะดวก รวดเร็ว ราคาถูก และสามารถประชุมทางไกลจาก ที่ใดก็ได้ ในลักษณะ Client/Server ผ่าน IP Network ของ iPSTAR นอกจากนี้ iPSTAR ยังมีจุดเด่นความสามารถด้าน Broadcast และ Multicast ทำให้สามารถแพร่ภาพและ ข้อมูลไปยังเครือข่ายหรือสาขา ที่มีจำนวนอุปกรณ์ปลายทางจำนวน มาก สามารถรับสัญญาณภาพทุกสาขาพร้อมกันได้
จุดเด่นของการทำงาน VDC
1. ราคาประหยัด และถูกกว่าการให้บริการแบบอื่นๆ มาก หากเปรียบเทียบกับ การใช้งานผ่านระบบอื่นๆ แบบเดิม
2. การติดตั้งง่าย ต่อจุดติดตั้ง 1 จุด สามารถติดตั้งได้เสร็จภายใน 1 วัน
3. หากเป็นการให้บริการแบบ Multicast คุณภาพของสัญญาณ ข้อมูล ที่ได้รับทุกสาขาปลายทาง สามารถรับสัญญาณได้เหมือนกัน และคุณภาพเดียวกัน
4. ระบบ IPSTAR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการร่วมกับการควบคุมการประชุมได้ เช่น การเพิ่ม/ลด จำนวนผู้เข้าประชุม , การแบ่งห้องประชุมออกเป็นหลายๆ ห้อง และใช้ไฟล์งานเข้าประชุมร่วมกันพร้อมๆ กัน
5. ไอพีสตาร์รองรับการใช้งาน Video Conference ในแบบแม่ข่าย / ลูกข่าย ( Client/Server ) ที่กำลังแพร่หลายได้
รูปภาพแสดง iPSTAR for Video Conferencing (VDC)



2. การใช้งานแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) iPSTAR เป็นระบบเครือข่ายดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานกับบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้งานผ่านเครือข่าย iPSTAR สามารถเข้าสู่โลกของข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้ และความ บันเทิงต่างๆ แบบ Multimedia ได้อย่างรวดเร็วและไม่มีขีดจำกัดด้านความเร็วอีกต่อไป ทั้งยังเป็นบริการที่มีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) และสามารถให้บริการบรอดแบนด์แบบ 2 ทาง บน Internet Protocol (IP) Platform เพื่อใช้ในการเข้าอินเตอร์เน็ตตามปกติ รวมถึงการใช้งานอื่นๆ บน IP Platform
จุดเด่นของการใช้งาน
• อุปกรณ์ไอพีสตาร์ สามารถใช้ในการรับส่ง- ข้อมูลได้ด้วยความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุดถึง 8 Mbps ในด้านรับ และ 2.5 Mbps ในด้านส่ง
• ไอพีสตาร์ สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูล ภาพ เสียง ได้โดยไม่ถูกจำกัด และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่เครือข่าย IP จากที่ใดๆ ก็ได้ ในกรณีที่เครือข่ายสายภาคพื้นดินยังไปไม่ถึง
• ผู้ใช้สามารถใช้งานไอพีสตาร์ ร่วมกับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ อาทิเช่น การร่วมประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ( Video Confernece) , การดาวโหลดข้อมูลภาพและเสียง และอื่นๆ
• ส่งข้อมูล ด้วยอุปกรณ์ปลายทาง สามารถกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งาน และเพื่อให้การใช้แบนด์วิดท์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
• ผู้ใช้งานที่อุปกรณ์ไอพีสตาร์ปลายทาง ทุกจุดติดตั้งสามารถรับสัญญาณด้วยคุณภาพเดียวกัน กับสัญญาณที่ส่งมาจากส่วนกลาง และยังสามารถรับสัญญาณได้แบบไม่จำกัดจำนวนผู้รับ
รูปภาพแสดงการใช้งานแบบ Multimedia


ชุดอุปกรณ์ของ iPSTAR มีอุปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วย
• Indoor Unit ( IDU )
1. iPSTAR Professional Series

2. iPSTAR Voice Series

• Outdoor Unit ( IDU )
3. จานดาวเทียมขนาด 1.2 เมตร LNB


อุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ประกอบเพิ่มเติม คือ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์
• CPU ระดับ Pentium MMX 200 MHz ขึ้นไป
• หน่วยความจำระดับ 64 MB ขึ้นไป
• พื้นที่เก็บข้อมูล 20 MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม
• เครื่องเล่นแผ่น CD ( CD-ROM Drive )
• ช่องต่ออุปกรณ์แบบ USB Port
• อุปกรณ์เครือข่าย ( LAN Card ) 2. อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมเครือข่ายภายใน (LAN) ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง

การประยุกต์ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย iPSTAR ระบบเครือข่าย iPSTAR FG สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Symmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับและขาส่งใกล้เคียงกัน เช่น การประชุมทางไกล
• การรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบ Aysmmetric ที่ต้องการความเร็วของขารับมากกว่าขาส่ง เช่น Multimedia Internet Access
• การรับข้อมูลทางเดียวแบบ Broadcast หรือ Multicast เช่น การศึกษาทางไกล เครือข่าย IPSTAR ได้รับการออกแบบมา ให้สามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้ง Voice, Data, และ Video บน Internet Protocol (IP) Platform ได้ที่ความเร็วสูงสุด 8 Mbps สำหรับขารับ และ 2.5 Mbps สำหรับขาส่ง
โมเด็ม (Modem) เป็นเครื่องแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาลอก  เพื่อการรับส่งข้อมูลทางสายโทรศัพท์ หรือในทางกลับกันจาก  อนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งความเร็วในการเรียกข้อมูลมาใช้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของโมเด็ม (ปัจจุบันมีความเร็วในระดับ 56.0 kpbs ขึ้นไป)  โดยแบ่งเป็นโมเด็มภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะติดตั้งภายในเครื่อง และแบบภายนอก (External Modem)  ซึ่งต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ด้านนอก
 โทรศัพท์  (Telephone)   คือคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้ทั่วไปตามบ้าน สามารถใช้สำหรับติดต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้งานตามปกติได้

ประโยชน์ของE-Mail

ข้อดีของการใช้ E-mail
1. ความเร็วของการส่ง E-mail ใช้เวลาในการเดินทางถึงปลายทางไม่ถึง 1 นาที
2. การเก็บรักษาความลับ E-mail ที่ส่งถึงผู้รับปลายทางจะถูกเก็บลงใน mail box ของผู้รับแต่ละคน ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถเปิดอ่านข้อความที่ส่งไปได้ นอกจากผู้รับที่เป็นเจ้าของเท่านั้น
3. ความแน่นอนของ E-mail ที่ส่งออกไป หากไม่ถึงผู้รับปลายทางก็จะถูกส่งกลับมายังผู้ส่งโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ส่งทราบว่า E-mail เดินทางถึงผู้รับหรือไม่
4. คุณภาพของข้อมูล ผู้รับสามารถอ่านข้อความของ E-mail ได้จากจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือจะให้พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็ได้
5. ข้อมูลที่จะส่งทาง E-mail สามารถส่งได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
6. เป็นการสนทนาแบบ Real time ผ่านทางคอมพิวเตอร์ โดยการพิมพ์ข้อความบนจอภาพแลกเปลี่ยนกับผู้ใช้อีกคนหนึ่งที่กำลังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในขณะนั้นได้ ทั้งนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับสนทนาโดยเฉพาะ

ข้อเสียของ E-mail
1. บางครั้งในการส่ง e-mail นั้น ข้อความอาจจะถูกตีกลับมายังผู้ส่ง เนื่องจาก e-mail ถูกส่งไปยัง address ที่ไม่มีตัวตนแล้ว (เลิกใช้แล้ว) หรือไม่มีชื่อผู้ใช้ e-mail นั้น จึงทำให้คนที่ต้องการรับ e-mail จริงๆไม่ได้รับ แต่คนที่ได้รับอาจจะเป็นคนอื่นแทนซึ่งเขาอาจจะไม่ตอบ e-mail กลับมาเพราะไม่ใช่ธุระจึงอาจจะทำให้ไม่ทราบว่า e-mail ที่ส่งไปนั้นถึงยังปลายทางหรือไม่
2. ไม่สามารถเข้าถึงบุคคลได้ทุกคน และอาจมีไวรัสมาพร้อมกับเอกสารที่ส่งมา ถ้าข้อมูลใน mail box เต็ม ก็ไม่สามารถรับข้อมูลอื่นได้